- Invest in People
จัดสรรทุนการศึกษาให้ บุคลากรสายวิชาการ สาขาที่ขาดแคลน (สนับสนุนร่วมกับหน่วยงาน) เพื่อเสริมศักยภาพของสาขาวิชาให้สามารถตอบโจทย์สังคมในทุกสาขา สาขาวิชาที่แข็งแกร่งอยู่แล้วจะส่งเสริมให้มีความโดดเด่นในระดับนานาชาติ ผ่านการสร้างความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เนื่องจากการสอนเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้งานวิจัย อีกทั้งเป็นการนำความรู้จากการวิจัยถ่ายทอดให้กับทรัพยากรบุคคลหรือนิสิตในรุ่นต่อ ๆ ไป รวมทั้งส่งเสริมให้คณาจารย์ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองและเรียนรู้เครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนให้เข้ากับบริบทสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- Faculty Development Program
เข้าใจความแตกต่าง สร้าง OKR หรือตัวชี้วัดเฉพาะสำหรับแต่ละคณะหรือหน่วยงานเพื่อการพัฒนาในรูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละส่วนงาน เพื่อการพัฒนาบนฐานของศาสตร์เฉพาะด้าน (No one size fit all) การขอตำแหน่งวิชาการ จะรื้อฟื้นคลินิกการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการขึ้นมาใหม่ พัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนให้สามารถช่วยจัดการเอกสาร ปรับกระบวนการให้การดำเนินการง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สายวิทยาศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ เพื่อให้อาจารย์สามารถทำงานสอน งานวิจัย และสร้างนวัตกรรมได้อย่างเต็มที่
- Grow Together!
สนับสนุน บุคลากรสายปฏิบัติการ ให้มีทุนการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น พัฒนางานบริหารทรัพยากรบุคคล มีการพัฒนาสมรรถนะและทักษะทั้ง Upskill & Reskill เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกรูปแบบ มีเกณฑ์ประเมินค่าตอบแทนตามผลงานที่ชัดเจน และถูกนำไปใช้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีความโปร่งใส สร้าง career path ที่ชัดเจน ให้งบประมาณเพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรในคณะ/สถาบัน/วิทยาลัยขนาดเล็ก
- Global Citizen Incubator
สร้างการเรียนรู้แบบ Individualized learning ให้นิสิตเติบโตเป็นบัณฑิตเพื่อเป็น global citizen โดยการเตรียมพร้อมด้านวิชาการและการใช้ชีวิต พัฒนารายวิชาการศึกษาทั่วไป (GenEd), วิชาเลือก, soft skill, interdisciplinary collaboration เปิดมุมมองนิสิตให้ไกลกว่าศาสตร์ในสาขาของตนเอง เพื่อพัฒนาให้เกิดอัตลักษณ์ของนิสิตจุฬาฯ จะพัฒนาหลักสูตรให้รองรับกับ learning landscape ใหม่ ๆ เช่น AI มีการ reauthorization เพื่อให้หน่วยงานสร้างหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น มีการสร้าง enterprise หรือ ร่วมทุน start up กับศิษย์เก่า สร้างวงจรความร่วมมือกับบัณฑิตจุฬาฯ เพื่อความผูกพันจุฬาฯ อย่างไม่สิ้นสุด และเพื่อรับใช้ประชาคมโลก และจัดทำกิจกรรมสร้างความผูกพันของนิสิตระหว่างคณะ/สถาบัน ให้นิสิตเกิดความปรองดอง และสร้างเครือข่ายการทำงาน หรือ network ตั้งแต่ยังอยู่ในรั้วจุฬาฯ
- Continuous and Impactful Research
งบประมาณเป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้มี งานวิจัยที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นควรมีการปรับงบประมาณวิจัยและแผนการวิจัย จัดงบประมาณและหาช่องทางการเผยแพร่ผลงานเชิงสังคมเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยทางสาขามนุษย์และสังคมมากยิ่งขึ้น ในภาพรวมของการวิจัย ต้องสนับสนุนให้ทุนวิจัยต่อเนื่อง ไม่ถูกจำกัดตามปีงบประมาณ ไม่ให้การวิจัยหยุดชะงัก ทำให้จุฬาฯ ไม่สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่มี impactful และสร้าง international recognition ได้ สนับสนุนการหาทุนวิจัยภายนอก เช่น การให้งบประมาณร่วม (co-pay) จัดงบประมาณและหาช่องทางการเผยแพร่ผลงานเชิงสังคมเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยทางสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น ทบทวนมาตรการตรึงจำนวนหน่วย RU และ CE ปรับเกณฑ์การสนับสนุนนักวิจัยต่างชาติภายใต้กรอบ C2F ให้เหมาะสมคล่องตัวยิ่งขึ้น พัฒนาระบบงานบริหารส่วนกลาง (central administrative workforce) ลดภาระงานเอกสารหน่วยวิจัย ให้หน่วยวิจัยสามารถมุ่งทำงานตามเป้าหมาย สนับสนุนผู้ช่วยวิจัย และงบประมาณให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ (ในกรณีที่ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยอาวุโส) เพื่อให้สามารถผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง จัดสรรทุน post-master เพิ่มเติมจาก postdoctoral fellowship ผู้ช่วยนักวิจัย และทีมสนับสนุนงานวิจัยให้แก่นักวิจัยมากยิ่งขึ้น พิจารณาให้ค่าตอบแทนกับนักวิจัยที่ผลิตตำรา หรือ โครงงานที่ก่อให้เกิดความมีชื่อเสียงกับจุฬาฯ ร่วมกับการหางบประมาณผ่านการเพิ่มรายได้มหาวิทยาลัยหรือเงินบริจาค
- Innovation and Spin-off
งานนวัตกรรมจะปรับข้อบังคับและแก้ไขระเบียบ เพื่อให้การทำงานของ enterprise ต่าง ๆ มีความคล่องตัว ถูกหลักการ และโปร่งใส ปรับการทำงานของ CU innovation hub ให้สามารถทำงานเชิงรุก จัดตั้งหน่วยธุรกิจภายใต้ข้อบังคับใหม่ เพื่อทำหน้าที่ผลักดันให้นวัตกรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ มีทีมงานประสานกับภาคเอกชนในการจัดทำ business plan และช่วย spin off ให้กับอาจารย์และนักวิจัย ทำงานหลังบ้านให้อาจารย์ เพื่อให้อาจารย์และนักวิจัยสามารถใช้ความรู้ด้านที่ตัวเองถนัด ส่งเสริมการพัฒนางานนวัตกรรมทุกด้านทั้งเชิงพาณิชย์ วิทยาศาสตร์ นวัตกรรมการศึกษา สังคม และวัฒนธรรม
- Caring Campus and Staff support
งานดูแลสุขภาวะบุคลากรแบบ “Flexible benefits” ปรับให้มีทางเลือกแก่บุคลากรมากขึ้น เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ เครื่องฟอกอากาศ ค่าสมัครเรียนกีฬา ค่าสมาชิกหรือค่าสถานออกกำลังกาย หรือ ค่ายา/อุปกรณ์ตามใบสั่งแพทย์ ลดภาระ จัดทำศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ดูแลเด็กเล็กเพื่อบรรเทาภาระครอบครัวของบุคลากร เพื่อให้บุคลากรมีเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวรวมถึงงานประจำที่เร่งด่วน มี work-life balance ที่ดี สร้างเสริมสุขภาพ จัดมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ดูแลเมื่อเจ็บป่วย ค่ายาหรืออุปกรณ์ตามใบสั่งแพทย์ สื่อสารเชิงรุก สร้างการสื่อสารสองทางระหว่างผู้บริหาร กับเหล่าคณาจารย์ บุคลากร และนิสิต เพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหาพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง