การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน 180 วันแรก
ปรับ OKRs ให้เหมาะสมกับกลุ่มสาขาและหน่วยงาน โดยมีการประเมินทั้งงานวิจัยและการสร้างความมีชื่อเสียงในเชิงวิชาการ ปรับงบประมาณและแผนงานวิจัย สร้างกิจกรรมเสริมความผูกพันของบุคลากรและนิสิต แผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรบุคคล แผนพัฒนาการสื่อสารองค์กร อย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรในคณะ/สถาบัน/วิทยาลัยขนาดเล็ก
การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นภายใน 1-2 ปีแรก
ออกแผนการปรับหลักสูตรที่มีความทันสมัยขึ้น มีการปรับ Flexible benefit สร้าง ecosystem เอื้อต่อการเกิด enterprise มีแผนการดำเนินการด้าน ESG and SDG จำนวนนิสิตต่างชาติจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ระบบ lifelong learning ของจุฬาฯ มี ecosystem ที่เป็นเสาหลักของสังคมไทยและสังคมโลก บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ งานวิจัยที่มีคุณภาพสูงเป็นจำนวนมากยิ่งขึ้น และมีระบบการทำงาน และการจัดการที่เป็นระบบ เทียบเคียงได้กับการบริหารจัดการของภาคเอกชน
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับจุฬาและประเทศไทยใน 4 ปี
จุฬาฯ จะมีงานวิจัยที่เน้นนวัตกรรมที่มีรากฐานที่มั่นคง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน บัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเป็น "global citizen" และเป็นผู้นำที่โดดเด่นในสังคม จุฬาฯ ให้การศึกษาไร้พรมแดนเพื่อประชาคมจุฬาฯ สังคมไทย และสังคมโลก บุคลากรของจุฬาฯ จะมีการพัฒนาตนเองและเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของสังคมไทย เป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้สังคมไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง จุฬาฯ จะมีการจัดการองค์ความรู้ที่ทันสมัย และเป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูงที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว จุฬาฯ มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้านของสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล การเรียนการสอน และงานวิจัยจะมีการเชื่อมโยงอย่างดีระหว่างสาขามนุษย์และสังคมวิทยา และวิทยาศาสตร์ การบริหารงาน จะเป็นในลักษณะ "Accountable independence" คือ ความเป็นอิสระที่มีความรับผิดชอบ และเป็นกลางในการดำเนินงาน